มดเป็นแมลงชนิดหนึ่งที่สามารถเอาตัวรอดมาได้ ภายหลังมหาอุทกภัยปลายปี 2554

มดมีความพิเศษ ที่ต่างจากปลวกคือ มดสามารถเกาะประสานกันเป็นแพ ลอยไปตามน้ำได้

      ปกติแล้วธรรมชาติจะสร้างระบบนิเวศน์ที่สมดุล แต่บางครั้งเหตุการณ์บางอย่างก็ทำให้สมดุลสูญเสียไปอย่างกระทันหัน หลังวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ปลายปี พ.ศ.2554 อาณาเขตบ้านเรือนน้ำท่วมสูงหลายเมตรเป็นเวลานานเกือบ 2 เดือน ระบบนิเวศน์เสียหายอย่างรุนแรง ลูกค้าบริษัทพีเอ็มจีฯจำนวนมาก ประสบปัญหาที่ไม่เคยเจอมาก่อน คือ มดที่เพิ่มจำนวนมากอย่างผิดปกติ ในขณะที่ปลวกลดน้อยลง น้ำที่ท่วมนานเกินไปปลวกประเภททำรังอยู่ใต้ดินเดือดร้อนหนัก ราชินีปลวกที่มีลำตัวอ้วนใหญ่เคลื่อนไปไหนไม่สะดวกแน่นอนว่าต้องจมน้ำตาย ปลวกที่เหลือถ้าหนีขึ้นที่สูงทันก็อาจจะรอด แต่ปลวกชนิดที่อาศัยในเนื้อไม้ ในเนื้อต้นไม้ มีโอกาสรอดสูง ดังนั้นในช่วงแรกๆหลังน้ำท่วมใหญ่ปัญหาปลวกมีแนวโน้มจะลดลงระยะหนึ่ง...แต่แค่ระยะหนึ่งเท่านั้น

      ถ้าในอาณาเขตบ้านมีประชากรมดมากผิดปกติ สิ่งแรกที่ควรคำนึงถึงคือ อาหารของมดมีมากเกินไปหรือไม่ ถ้าใช่ ก็ต้องป้องกันไม่ให้มดเข้าถึงอาหารได้ เอาไปเผา เอาไปทิ้ง เอาไปทำลายซะบ้าง เมื่อไม่มีอาหารมดก็จะน้อยลง เพราะต้องฆ่ากันเอง กินกันเอง หรืออพยพไปอยู่ที่อื่น แมลงก็ไม่ต่างจากมนุษย์ ถ้าอาหารไม่เพียงพอ แต่ประชากรล้นเกิน ปัญหาในสังคมก็จะปั่นป่วน ตั้งแต่อาจโรคระบาด เกิดฆ่ากันเอง เกิดการอพยพเพื่อลดจำนวนประชากร

มหาอุทกภัยน้ำท่วมใหญ่และท่วมนาน ประชากรปลวกลดจำนวนลง ระบบนิเวศน์แปรปรวนไปหมด

       การที่น้ำท่วมสูงมากบางแห่งสูงเกือบถึงยอดไม้ เป็นบริเวณกว้างครอบคลุมหลายจังหวัด ยาวนานเกือบ 2 เดือน ทำให้สัตว์ประจำถิ่นหลายชนิดสูญหายไป สัตว์ที่กินมดเป็นอาหารเช่น คางคก กิ้งก่า ปลาบางชนิด จิ้งเหลน จิ้งจก ตุ๊กแก รวมทั้งปลวกเองในหลายพื้นที่ก็หายไปด้วย แต่ปรากฎหลักฐานว่ามีแมลงบางชนิด ที่เอาตัวรอดมาได้ ก็คือพวกมดที่ไต่ขึ้นสู่ที่สูง และที่เกาะประสานกันเป็นแพ ที่เราขอเรียกมันว่า "แพ มด" ( อย่างที่เห็นในรูป ) ลอยตามน้ำไปยังที่ๆปลอดภัย แต่ในระหว่างทางที่ล่องลอยมาตามน้ำ ก็จะมีมดจำนวนหนึ่งที่ตกเป็นอาหารของปลาที่มาตอดกินมด จนเกิดเป็นคำสุภาษิตที่ว่า "น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา" ที่เราได้ยินกัน ซึ่งหมายถึง " ทีใครทีมัน "

ปกติในเมืองเรา มดก็ไม่ค่อยมีศัตรูสักเท่าไร เช่นไม่มี "ตัวกินมด" ยิ่งในกรุงเทพเมืองศิวิไลซ์ มดยิ่งแทบไม่มีศัตรู ถ้าไม่นับมนุษย์ที่เป็นศัตรูของมด สัตว์ที่กินมดเป็นอาหารก็ลดจำนวนน้อยลงไปเช่น คางคก กิ้งก่า จิ้งเหลน ฯลฯ ศัตรูที่สำคัญของมดน่าจะเป็นพวกมดด้วยกันเอง แต่เป็นคนละสายพันธุ์ เช่นมดดำเป็นศัตรูกับมดแดง